ตั้งแต่สิ้นปีลากยาวมาถึงช่วงหลังปีใหม่ งานเลี้ยงเอยอะไรเอย จับสลากของขวัญ ค่ากิน ค่าเที่ยว สารพัดค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับช่วงเทศกาลได้ถาโถมเข้ามาจนไม่ทันได้ตั้งตัว หลายคนต้องหยิบยืมเงินในอนาคตมาใช้ เหมือนที่บางคนบ่นไว้ว่า “เดือนมกราคมยังไม่หมดอีกหรอ แต่เงินเดือนกุมภาพันธ์กูหมดแล้วนะ”
เพราะความยาวนานของไอ้เจ้ามกราคมนี้แหละ ทำให้เราต้องมานั่งคำนวณเศษเงินในบัญชีกับจำนวนวันที่เหลืออยู่ ซึ่งคำนวณไปคำนวณมาก็พบว่า เห้ย นี่เราเหลือเงินให้ใช้เพียงแค่วันละ 100 บาทเองหรอเนี่ย
แล้วคนเราจะใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงิน 100 บาทได้ยังไงวะ? หรือนี่เรากำลังอยู่ในรายการเซอร์ไวเวอร์?
หลังจากแหกขี้ตาตื่นมาพบกับเช้าวันใหม่ พร้อมกับค่าฝุ่นเกินมาตรฐานและไวรัสโคโรนาเหมือนเช่นเคย เราก็ได้นั่งทำใจสักครู่ก่อนย้ายก้นไปอาบน้ำ แม้สุดท้ายจะต้องขับมอเตอร์ไซค์สูดฝุ่นไปยังที่ทำงาน แต่อย่างน้อยในวิกฤตสิ้นเดือนแบบนี้ มันก็ช่วยให้เราได้เซฟเงินค่าเดินทางไปเกือบ 30-40 บาท
ขณะนี้ยอดคงเหลือยังคงเป็น 100 บาทอยู่ ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอแวะกินข้าวเช้าสักหน่อย เพราะถึงแม้เราจะจน แต่ปากท้องคงจะต้องได้สัมผัสอะไรสักเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงใช้ชีวิตเพื่อหาเงินต่อไป
ยอดเงินคงเหลือ 45 บาท อ่า นี่ยังใช้ชีวิตไม่ถึง 1 ใน 10 ของวันเลยนะ แต่เงินหายไปเกินครึ่งแล้ว
แน่นอนว่าเราได้วางแผนการเดินทางไว้อย่างเรียบร้อย โดยค่าใช้จ่ายที่คิดว่าน้อยที่สุดนั่นก็คือ 30 บาท ซึ่งก็คือใช้วิธีการขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะถ้าขึ้นแท็กซี่แน่นอนว่าไม่ต่ำกว่า 100 บาทชัวร์ ส่วนรถเมล์น่ะเหรอ? เตรียมโดนไล่ออกจากงานได้เลย เพราะกว่ารถเมล์จะมาถึง เขาก็คงกล่าวปิดงานประชุมไปเป็นที่เรียบร้อย หรือไม่เราก็ยืนสูดฝุ่นที่หน้าป้ายรถเมล์จนตายซะก่อน
แต่ถึงแม้รถไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นช้อยส์ที่มีราคาน้อยที่สุด มันก็ยังทำให้เราจะเหลือเงินใช้เพียงแค่ 15 บาทอยู่ดี (กำหมัด.. ขึ้นมาซับน้ำตา)
แล้วจู่ๆ นางฟ้านางสวรรค์ก็ลงมาโปรด เหมือนชาติที่แล้วตื่นตักบาตรทุกเช้าเลยมีแต้มบุญในชาตินี้เยอะ เพราะขณะที่เรากำลังบ่นพึมพัมแต่ก็ดังพอให้ใครสักคนผ่านมาได้ยิน เพื่อนรักโต๊ะข้างๆ ก็หันมาถามว่า “ไปด้วยกันสิ กูผ่านทางนั้นพอดี”
โห นี่มัน… ที่เขาบอกว่า ‘คนไหนคนไทย จะรู้ได้ไง ถ้ามีน้ำใจอะ คนไทยแน่นอน’ เห็นจะเป็นเรื่องจริง
เมื่อถึงงานประชุม เป็นเวลาบ่ายโมงพอดิบพอดี นั่งฟังสัมมนาไปสักพักก็เริ่มรู้สึกท้องร้องอีกรอบ แม้จะไม่ได้ขยับตัวอะไรมากนัก แต่การนั่งฟังอะไรที่ไม่ค่อยอยากฟังก็ใช้เอเนอร์จี้ไปเยอะทีเดียว และสิ่งที่กู้ชีวิตไว้ขณะนั้นนั่นก็คือ ‘เบรค’ ที่ทางงานจัดไว้ให้
จังหวะที่เอื้อมมือไปรับ ฟีลเหมือนผู้ประสบภัยได้ถุงยังชีพ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว ตอนนั้นเรากินไปแค่น้ำผลไม้กับขนมปัง ส่วนเค้กก้อนเล็กๆ เราเลือกที่จะเก็บไว้ยามฉุกเฉิน เผื่อตอนเย็นไม่มีอะไรกิน อะ ทีนี้เริ่มเหมือนผู้ประสบภัยจริงๆ ละ
เยี่ยม! นี่แหละคือการแฮ็คชีวิตขั้นสุดยอด
เนื่องจากรองเท้าที่ใส่วันนี้ไม่ซัพพอร์ตในการเดินเท้ามากเท่าไหร่ ซึ่งพี่วินก็วัดใจด้วยประโยคที่ว่า “เคยมาเท่าไหร่?”
โห แบบทดสอบความบริสุทธิ์ใจสุดๆ ก็เลยเสนอราคากลางๆ ไปว่า 20 บาท ซึ่งเป็นราคาที่พี่วินดีล ส่วนเราก็แฮปปี้
งั้นเรามา.. (ก้มดูเงินในมือ) โอเค 25 บาท……
กินเค้กก้อนเล็กๆ ที่เหลือจากเบรคเมื่อตอนกลางวันก็ได้วะ
ถึง นังออมจีในวันพรุ่งนี้ ฉันขอยืมเงินแกมาใช้ก่อนนะ
จาก ฉันในวันเมื่อวาน
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า แม้วันนี้เราจะพยายามแฮ็คชีวิตได้มากมายเท่าไหร่ แต่ก็ต้องมาจบที่การกดเงินของวันพรุ่งนี้มาใช้อยู่ดี
จะเห็นได้ว่า 100 บาทกับชีวิต 1 วัน เราสามารถซื้อข้าวได้เพียงแค่มื้อเดียว ส่วนที่เหลือได้เสียให้กับค่าเดินทางทั้งหมด ซึ่งจริงๆ แล้วหากจะให้ใช้ชีวิตแบบที่ไม่อัตคัดมากนัก ก็คงต้องมีเงินอย่างต่ำ 200 บาท นั่นก็คือสำหรับค่าเดินทางไป-กลับ 100 บาท และสำหรับค่าข้าว 100 บาท
อย่างในเคสของวันนี้ หากไม่มีรถฟักทองจากนางฟ้าแม่ทูนหัวและถุงยังชีพของงานประชุม เราก็คงต้องหาเงินเพิ่มอีก 130 บาท ซึ่งก็จะเพียงพอกับค่าข้าว 3 มื้อ 150 บาท ค่าเดินทางไป 30 บาท และค่าเดินทางกลับ 50 บาท เรียกได้ว่าเพิ่มมามากกว่าเท่าตัวเลยแฮะ
ด้วยราคานี้เอง จึงทำให้เราหวนนึกถึงบ้านเกิดที่ต่างจังหวัด ที่เพิ่งได้กลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว เพราะ 100 บาทในจังหวัดที่เราเคยอยู่ (โดยมีเงื่อนไขว่าไม่มีรถส่วนตัว) พบว่า เงินจำนวน 20 บาทแรกนั้น จะถูกเสียให้กับค่ารถสองแถว (รวมขาไป-กลับ) และอีก 40 บาทที่เหลือ จะถูกใช้กับข้าวราดแกง 2 มื้อ
แต่เมื่อเทียบกับการใช้ชีวิตในกรุงเทพ แบบไม่มีนางฟ้าหรือเทวดาพ่อทูนหัวคอยช่วยเหลือแล้ว การจะใช้ชีวิตให้อยู่รอดได้ด้วยเงินร้อยเดียว ก็คงไปจบด้วยวิธีซื้อข้าว 1 กล่องและแบ่งกิน 2 มื้อ กับการเดินสูด PM 2.5 และสุดท้ายก็ต้องกลับบ้านมานั่งนวดเท้าอีกที
เพราะงั้น สำหรับเรามันดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยเงินเพียง 100 บาท เพราะความจำเป็นในชีวิตประจำวันนั้นมีมากกว่าแค่ ‘ข้าวหนึ่งมื้อ’ หรือ ‘รถเที่ยวเดียว’ รวมไปถึงค่าครองชีพที่สูงลิ่ว (แต่หิ้วคุณภาพชีวิตที่ค่อนข้างต่ำมาให้ด้วย)
จากการทดลองพยายาม survive อะไรสักอย่างตลอดหนึ่ง ก็ทำให้รู้ว่าเราคิดถึงการใช้ชีวิตในต่างจังหวัดแค่ไหน แต่ก็คงเลือกอะไรมากไม่ได้ ได้แต่เฝ้ารอว่าความเจริญจะเลิกกระจุกอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพียงที่เดียวสักที