ทำแท้ง ≠ ฆ่า

ในวันที่การทำแท้งเป็นเรื่องที่ถูกกฏหมาย หลายคนก็ยังมองว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมอยู่ดี

ถ้าคิดแบบนั้น แล้วการปล่อยให้เด็กเกิดมาทั้ง ๆ ที่ครอบครัวไม่พร้อมจะเป็นบาปกว่าไหม ?

ถ้า ทำแท้ง ≠ ฆ่า 

งั้น ไม่ทำแท้ง = ฆ่าอนาคต?

หรือการไม่สนับสนุนการทำแท้งก็แค่การสำเร็จความใคร่ทางศีลธรรมของเราเอง

ตั้งแต่เกิดมาผมก็จำได้ว่าคนที่โดนทำแท้งจะถูกประนามจากสังคมรอบข้างในฐานะคนทำผิดกฏหมาย ถ้าหลักฐานชัดเจนก็อาจถึงขั้นลงหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวัน


ผมเพิ่งรู้ไม่นานมานี้ว่าคนไทยสามารถทำแท้งหรือเข้าไปปรึกษาปัญหาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพราะเป็นเรื่องผิดกฏหมายอีกต่อไปแล้ว

ภาพในหัวตอนแรกคือคลีนิกเล็ก ๆ แคบ ๆ ในตรอกซอกซอยไกล ๆ ที่ต้องขับรถไปครึ่งวันหรือนั่งรถสาธารณะซักสี่ต่อ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรงพยาบาลที่ตอบรับนโยบายนี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางแหล่งชุมชนที่ผู้ต้องการใช้บริการเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แถมยังสะอาดได้มาตรฐานที่กำหนดไว้

และยิ่งแปลกใจมากขึ้นไปอีกเมื่อรู้ว่าใกล้ ๆ บ้านเราก็มีโรงพยาบาลที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในด้านการให้คำแนะนำเรื่องยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยอยู่ด้วย อย่างโรงพยาบาลคลองตันที่ตั้งอยู่ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ซึ่งสะดวกและสะอาดปลอดภัย

ไม่ได้มีอะไรใกล้เคียงกับที่คิดเอาไว้เลย

ผมเองก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้มันถูกผิดศีลธรรมมากน้อยแค่ไหน เพราะมันจับต้องไม่ได้และไม่มีเครื่องวัดให้เห็น

แต่ที่รู้แน่ ๆ คือถ้าท้องแล้วไม่พร้อม การมาที่นี่ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวพี่ ๆ เจ้าหน้าที่ที่มาดูแลอธิบายว่าที่นี่มีตึกที่ดูแลเรื่องนี้แยกเฉพาะออกไปต่างหาก เรียกว่าแผนกวาง/แผนครอบครัว ก่อนอื่นให้เดินไปที่ฝ่ายต้อนรับ หลังจากนั้นไปตรวจอัลตร้าซาวนด์ให้รู้ว่าอายุครรภ์กี่สัปดาห์กันแน่

เมื่อยืนยันว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์แล้วค่อยส่งไปพบกับเจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษาทางเลือกเพื่อยืนยัน

เขามีปัญหาทางสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตไหม? มีความจำเป็นยังไง? เช่นเศรษฐกิจมันรัดตัว สามีทิ้ง ฯลฯ 

หลังจากนั้นก็มีการกรอกเอกสารต่าง ๆ แบบฟอร์มของแพทยสภา ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ 10-12 ข้อ ให้มันถูกขั้นตอนตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนต้องเสี่ยงชีวิตไปรับการบริการที่มันอันตราย เพราะอาจถึงแก่ชีวิตได้

คุณหมอที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้ให้ข้อมูลกับเราเพิ่มว่าหลังจากที่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้วคนไข้มีทางเลือกสองอย่าง

“หนึ่งคือใช้ยา และสองเรียกว่าหัตถการ ถ้ากินยา ต้องกินตัวแรกก่อน 36-38 ชม แล้วค่อยกินตัวที่สอง หลังจากนั้นรออีก 8-10 ชม. ซึ่งบางครั้งก็เกิดปัญหาแทรกซ้อนอย่างติดเชื้อหรือตกเลือดเพิ่ม ครบสองอาทิตย์ก็นัดอีกครั้งเพื่อดูว่าเป็นยังไง” 

ฟังดูแล้วไม่ง่ายใช่ไหม ในขณะที่การใช้หัดตการหรือศัลยกรรมมันจบภายในห้านาทีแล้วได้คำตอบหมดทีเดียว พอเสร็จแล้วก็กลับบ้านได้ คือจบทีเดียวเลย ค่าใช้จ่ายก็เท่า ๆ กัน

เป็นคุณจะเลือกแบบไหน ?

คุณรู้มั้ยว่าเค้าสำรวจแล้วว่าก่อนหน้านี้คนไทยทำแท้งกันหลักแสนคนต่อปี และ 80% เป็นการทำแท้งเถื่อน” 

“ปัญหานี้สร้างความเสียหายให้กับระบบสาธารณสุขของชาติได้ระดับพันล้านบาท เพราะส่วนใหญ่เกิดบาดเจ็บจนต้องเข้ามาขอรับการรักษาจากโรงพยาบาลรัฐอีกเป็นพัน ๆ ราย ค่าใช้จ่ายคนหนึ่งก็หลายแสนบาท แล้วยังมีเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตสูงอีกด้วย”

เราลองคิดตามดูแล้วก็คงจริง ถ้าประหยัดส่วนนี้ไปก็เอาไปทำอย่างอื่นได้อีกเยอะเลย

นี่ยังไม่นับส่วนที่ประเมินไม่ได้อีกนะ เช่น ครอบครัวแตกแยก ภาระค่าใช้จ่าย หรือปัญหาอาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ กระทบทั้งเศรษฐกิจและสังคม

ไม่รู้ว่าคุณหมอบอกครบหมดหรือเปล่า แต่เราคิดว่าแค่นี้ก็มากพอที่จะทำให้การทำแท้งนั้นเป็นเรื่องที่ถูกกฏหมายซักที

คุณหมอบอกกับเราว่าเดิมเมืองไทยไม่มีกฏหมายเรื่องนี้ จนหลัง พ.. 2490 เราไปเอากระบวนกฏหมายอาญาจากประเทศเยอรมันมาใช้ มาตรานี้ก็เลยติดมาด้วย หลังจากนั้นยี่สิบปี ทางเยอรมันแก้กฏหมาย อเมริกาก็แก้จาก 13 เป็น 50 รัฐ เพราะในโลกเสรีผู้หญิงเริ่มได้รับความสำคัญและมีบทบาทมากขึ้น ส่วนไทยไม่แก้ ทิ้งไว้แบบนี้ต่อมาเรื่อย ๆ

กรมอนามัยเปิด safe abortion หาอจ. แพทย์ เข้ามาช่วยให้บริการคนไข้ เนื่องจากไม่มีกฏหมายบังคับว่าแพทย์จะต้องเข้ามาดูแลคนไข้ในส่วนนี้ ไม่งั้นแพทย์จะมีความผิดเหมือนรักษาโรค ซึ่งบางทีแพทย์ปฏิเสธด้วย ด่าซ้ำด้วย ซึ่งจริงๆแล้วอันนี้เป็นการผิดรัฐธรรมนูญว่าด้วยการละเมิดสิทธิของคนไข

ศาลก็สั่งออกมาว่าให้รัฐบาลเอาไปดำเนินการแก้ไขให้เหมาะสมต่อสภาพในปัจจุบัน เพราะเวลามันล่วงเลยมากว่า 60 ปีแล้วโดยที่ไม่ทำอะไรเลย ตรงนี้ก็เป็นที่มาขอการยกร่างของครม และให้ตรวจสอบโดยกฤษฏีกา ซึ่งจะต้องแก้ไขภายในเวลาหนึ่งปีตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่แก้ไข ให้ถือว่ายกเลิก เสรีไปเลย เพราะงั้นทุกฝ่ายก็พยายามจะช่วยกันแก้ไข

ถึงแม้ว่ากฏหมายใหม่จะให้ทำแท้งได้ทุกกรณีโดยที่ไม่ผิดกฏหมาย แต่ข้อแม้ก็คืออายุครรภ์ต้องน้อยกว่า 12 อาทิตย์ หรือพูดง่าย ๆ ว่าสามเดือน ซึ่งหลายคนแย้งว่าทำไมต้องกำหนด?

เรื่องอายุครรภ์นี่เป็นการปรึกษาร่วมระหว่างนักกฏหมาย แพทย์ แพทยสภา ราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์ ซึ่งมองเรื่องความปลอดภัยของคนไข้เป็นหลัก ถ้าอายุครรภ์ไม่มาก การทำแท้งก็มีความเสี่ยงลดน้อยลงไปด้วยซื้อยาตำรวจก็จับไม่ได้ แต่ถ้าเป็นของเดิมนี่ผิดเลยทันที

“สมัยก่อนผู้หญิงซื้อยาไปทำแท้งเองแล้วเอาไปทิ้งในขยะ ผู้หวังดีคุ้ยเจอก็เอาไปโรงพัก เรียกนักข่าวมา ส่งไปพิสูจน์ที่นิติเวชหมอก็ดูว่าตอนคลอดเนี่ยตายอยู่ในท้อง หรือออกมาตายข้างนอก

“ถ้าปอดขยาย แปลว่าออกมาหายใจแล้ว ผู้หญิงคนนี้ก็จะโดนข้อหาฆาตกรรม แทนที่จะเป็นข้อหาทำแท้ง ซึ่งในกฏหมายใหม่ก็พยายามที่จะไม่เอาผิดผู้หญิง เพราะเขาไม่ควรจะเป็นอาชญากร หรือโดนกฏหมายอาญา ถึงแม้ของเก่าจะพยายามช่วยอยู่แล้วก็ยังมีโทษถึงสามปี แต่กฏหมายใหม่นี่เหลือสามเดือน

ในความเป็นจริงแล้วถ้าอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ก็กลับไปใช้มาตรา 305 ได้ ตรงนั้นเขียนเอาไว้ว่าไม่กำหนดอายุครรภ์ ถ้าแพทย์ทำแล้ว อายุครรภ์เท่าไหร่ก็ได้ หลักการของสูตินารีเวชเขียนไว้ว่าถ้าต่ำกว่า 28 สัปดาห์คือการแท้ง แต่เกินกว่านั้นเป็นการคลอดก่อนกำหนด ภาษากฏหมายก็ไปอีกเรื่อง” 

“บุคคลย่อมเป็นสภาพบุคคลก็ต่อเมื่อคลอดปลอดภัย อยู่ได้ด้วยตัวเอง อันนี้สำคัญเพราะถ้าไม่มีกฏหมายควบคุมไว้ การทำแท้งจะกลายเป็นฆาตกรรม ซึ่งมีโทษตั้งแต่ยี่สิบปีถึงประหารชีวิตไปเลย”

“เราต้องการให้คนไข้ที่มีปัญหาทางด้านนี้ไปรับการปรึกษาจากแพทย์และหาทางออกร่วมกัน ไม่ใช่ไปวิ่งเต้นทำอย่างอื่นซึ่งเสี่ยงและอันตรายมากเอาเอง

ถ้าไม่ทำให้กฏหมายใหม่ครอบคลุมและทันสมัย หมอไปช่วยก็มีความผิด เค้าถึงระดมสมองมาเพื่อที่จะทำให้มันเกิดประโยชน์มากที่สุดและเป็นธรรมที่สุด

นึกถึงเรื่องที่พี่คนหนึ่งพูดให้ฟังว่าแต่เดิมโครงสร้างกฏหมาย เศรษฐกิจ และสังคม ก็ล้วนแต่มีที่มาจากผู้ชายซึ่งเป็นใหญ่ในการวางรากฐานให้มันขยายต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

พอมองย้อนกลับไปไม่ว่าจากมุมไหน การทำแท้งที่ควรจะเป็นเรื่องของผู้หญิง ซึ่งเป็นผู้อุ้มท้องเองโดยตรง กลับไม่มีส่วนที่จะได้ตัดสินใจใดๆ

ทุกวันนี้โลกเดินมาจนถึงพุทธศักราช 2564 หรือถ้านับแบบฝรั่ง ก็คริสตศักราช 2021 เป็นเวลาอย่างน้อยสองพันกว่าปีหลังจากมนุษย์ได้มีอารยธรรม 


ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะขยับขยายหรือเปลี่ยนกรอบให้เหมาะกับบริบทของสังคมทุกวันนี้?

Loading next article...